วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม

กระบวนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์

       กระบวนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์  เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานซึ่งจะต้องมีโปรแกรมสำหรับทำงาน โดยผู้ที่พัฒนาโปรแกรมจะต้องเข้าใจงานเป็นอย่างดี จึงนำมาพัฒนาเป็นโปรแกรมเพื่อใช้ช่วยในการทำงาน ดังนั้นขั้นตอนการทำงานด้วยการแก้ปัญหาตามขั้นตอนดังนี้
       1. ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม
       การเขียนโปรแกรมผู้เขียนโปรแกรมจะต้องรู้ว่าจะให้โปรแกรมทำอะไร มีข้อมูลอะไรที่จะต้องให้กับโปรแกรมบ้าง และต้องการผลลัพธ์หรือเอาต์พุตอย่างไรจากโปรแกรมรวมทั้งรูปแบบการแสดงผลลัพธ์  โดยทั่วไปขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมแบ่งได้ดังนี้
       1.1 กำหนดและวิเคราะห์ปัญหา (Peoblem Definition and Problem Analysis)
             ขั้นตอนแรกสำหรับนักเขียนโปรแกรม การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์จะต้องมีแนวทางที่แก้ไขปัญหาที่เหมาะสมให้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ถ้าผู้เขียนโปรแกรมไม่สามารถทำความเข้าใจกับปัญหาที่ต้องการแก้ไขได้ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ก็ไม่สามารถทำได้  การกำหนดและวิเคราะห์ปัญหามีขั้นตอนย่อย ๆ ดังนี้
             - กำหนดขอบเขตของปัญหา เป็นการกำหนดให้ชัดเจนว่าจะให้คอมพิวเตอร์ทำอะไร ตัวแปรค่าคงที่ที่จะต้องใช้เป็นลักษณะใด
             - กำหนดลักษณะของข้อมูลเข้าและออกจากระบบ(Input/Output Specification) โดยต้องรู้ว่าข้อมูลที่จะส่งเข้าไปเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง เพื่อให้โปรแกรมทำการประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ เช่นการรับค่าจากคีย์บอร์ด การกำหนดค่าปุ่มต่าง ๆ ลักษณะการแสดงผลลัพธ์ทางหน้าจอว่าจะให้มีรูปร่างอย่างไร ตัวอย่างเช่นถ้าต้องการรับข้อมูลเข้าไปประมวลผล ก็ต้องพิจารณาว่าข้อมูลนั้นเป็นตัวอักษณหรือตัวเลข ถ้าเป็นตัวเลขก็พิจารณาต่อว่าเป็นจำนวนเต็มหรือทศนิยม ผลลัพธ์ที่แสดงหน้าจอจะให้แสดงเป็นทศนิยมกี่ตำแหน่งหรือปัดเศษ เป็นต้น
           - กำหนดวิธีการประมวลผล (Process Specification) ต้องรู้ว่าจะให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลอย่างไรจึงจะได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
ตัวอย่าง ถ้าต้องการออกแบบโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์รับค่าข้อมูล 5 ค่า และแสดงค่าเฉลี่ยทางจอภาพ จะกำหนดและวิเคราะห์ปัญหาได้ดังนี้
          1. รับข้อมูลจากคีย์บอร์ด
              1.1 รับข้อมูลเฉพาะที่เป็นตัวเลขมาเก็บในตัวแปรจำนวน 5 ตัว
              1.2 ถ้าข้อมูลเท่ากับ 0 ให้รับค่าใหม่
          2. หาค่าเฉลี่ย
              2.1 รวมค่าทุกค่าที่รับมาเข้าด้วยกัน
              2.2 นำค่าผลรวมที่ได้หารด้วย 5
              2.3 นำค่าผลลัพธ์ไปเก็บในตัวแปร
          3. แสดงผลลัพธ์ทางจอภาพ
              3.1 แสดงคำว่าค่าเฉลี่ยเท่ากับ
              3.2 แสดงผลลัพธ์โดยมีทศนิยมสองตำแหน่ง