วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 1 เรื่องหลักการเขียนโปรแกรม

ใบงานที่ 1
เรื่องหลักการเขียนโปรแกรม

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเขียนแนวทางการแก้ปัญหา
การวิเคราะห์ปัญหาต้องพิจารณาเป็นข้อ ๆ ดังนี้
* ต้องการอะไร
* ต้องการเอาต์พุตอย่างไร
* ข้อมูลเข้าเป็นอย่างไร
* ตัวแปรที่ใช้
* วิธีการประมวลผลเป็นอย่างไร
1. จงวิเคราะห์ปัญหา สำหรับคำนวณหาค่าจ้างพนักงานเป็นรายชั่วโมง จากนั้นแสดงค่าจ้างที่คำนวณได้

2. จงวิเคราะห์ปัญหาในการหาปริมาตรทางกระบอกและแสดงค่าปริมาตรที่คำนวณได้

3. จงวิเคราะห์ปัญหาเพื่อรายงานผลสอบของนักเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นโดยให้แสดงคะแนนรวมและเกรดออกมา

4. จงวิเคราะห์ปัญหาของการบวกตัวเลขจำนวนสามค่าที่อ่านเข้ามาและแสดงผลออกทางเครื่องพิมพ์

5. จงวิเคราะห์ปัญหาสำหรับหาค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิประจำวัน โดยรับค่าอุณหภูมิสูงสุดและอุณหภูมิต่ำสุดเป็นเลขจำนวนเต็มเข้าไปและให้แสดงค่าอุณหภูมิเฉลี่ยออกทางจอภาพ

เฉลยใบงานที่ 1
เรื่องหลักการเขียนโปรแกรม

1. จงวิเคราะห์ปัญหา สำหรับคำนวณหาค่าจ้างพนักงานเป็นรายชั่วโมง จากนั้นแสดงค่าจ้างที่คำนวณได้

ต้องการอะไร   คำนวณหาค่าจ้างพนักงานเป็นรายชั่วโมง แสดงค่าจ้างที่คำนวณ

ต้องการเอาต์พุตอย่างไร  แสดงชื่อ นามสกุลพนักงาน ค่าจ้างรายชั่วโมง จำนวนชั่วโมง

แสดงค่าจ้างที่คำนวณได้

ข้อมูลเข้าเป็นอย่างไร  ชื่อ นามสกุลพนักงาน ค่าจ้างรายชั่วโมง จำนวนชั่วโมงที่ทำงาน แสดงค่าจ้างที่คำนวณได้

ตัวแปรที่ใช้ name แทนชื่อ  sername แทนนามสกุล พนักงาน  so แทนค่าจ้างรายชั่วโมง  ho แทนจำนวนชั่วโมงที่ทำงาน total แทน ค่าจ้างที่คำนวณได้

วิธีการประมวลผลเป็นอย่างไร  ค่าจ้างที่คำนวณได้ = ค่าจ้างรายชั่วโมง * จำนวนขั่วโมงที่ทำงาน  

 2.  
จงวิเคราะห์ปัญหาในการหาปริมาตรทรงกระบอกและแสดงค่าปริมาตรที่คำนวณได้

ต้องการอะไร   คำนวณหาปริมาตรทรงกระบอก

ต้องการเอาต์พุตอย่างไร  แสดงค่า π  , r , h , ปริมาตรทรงกระบอก

ข้อมูลเข้าเป็นอย่างไร  กำหนดค่า π เป็น 3.14 หรือ 22/7  รับค่า r , h 

ตัวแปรที่ใช้ r แทน รัศมี  h แทนความสูง  SUM แทนปริมาตรทรงกระบอก

วิธีการประมวลผลเป็นอย่างไร  ปริมาตรทรงกระบอก = πr2h  



วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม

กระบวนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์

       กระบวนการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์  เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานซึ่งจะต้องมีโปรแกรมสำหรับทำงาน โดยผู้ที่พัฒนาโปรแกรมจะต้องเข้าใจงานเป็นอย่างดี จึงนำมาพัฒนาเป็นโปรแกรมเพื่อใช้ช่วยในการทำงาน ดังนั้นขั้นตอนการทำงานด้วยการแก้ปัญหาตามขั้นตอนดังนี้
       1. ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม
       การเขียนโปรแกรมผู้เขียนโปรแกรมจะต้องรู้ว่าจะให้โปรแกรมทำอะไร มีข้อมูลอะไรที่จะต้องให้กับโปรแกรมบ้าง และต้องการผลลัพธ์หรือเอาต์พุตอย่างไรจากโปรแกรมรวมทั้งรูปแบบการแสดงผลลัพธ์  โดยทั่วไปขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมแบ่งได้ดังนี้
       1.1 กำหนดและวิเคราะห์ปัญหา (Peoblem Definition and Problem Analysis)
             ขั้นตอนแรกสำหรับนักเขียนโปรแกรม การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์จะต้องมีแนวทางที่แก้ไขปัญหาที่เหมาะสมให้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ถ้าผู้เขียนโปรแกรมไม่สามารถทำความเข้าใจกับปัญหาที่ต้องการแก้ไขได้ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ก็ไม่สามารถทำได้  การกำหนดและวิเคราะห์ปัญหามีขั้นตอนย่อย ๆ ดังนี้
             - กำหนดขอบเขตของปัญหา เป็นการกำหนดให้ชัดเจนว่าจะให้คอมพิวเตอร์ทำอะไร ตัวแปรค่าคงที่ที่จะต้องใช้เป็นลักษณะใด
             - กำหนดลักษณะของข้อมูลเข้าและออกจากระบบ(Input/Output Specification) โดยต้องรู้ว่าข้อมูลที่จะส่งเข้าไปเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง เพื่อให้โปรแกรมทำการประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ เช่นการรับค่าจากคีย์บอร์ด การกำหนดค่าปุ่มต่าง ๆ ลักษณะการแสดงผลลัพธ์ทางหน้าจอว่าจะให้มีรูปร่างอย่างไร ตัวอย่างเช่นถ้าต้องการรับข้อมูลเข้าไปประมวลผล ก็ต้องพิจารณาว่าข้อมูลนั้นเป็นตัวอักษณหรือตัวเลข ถ้าเป็นตัวเลขก็พิจารณาต่อว่าเป็นจำนวนเต็มหรือทศนิยม ผลลัพธ์ที่แสดงหน้าจอจะให้แสดงเป็นทศนิยมกี่ตำแหน่งหรือปัดเศษ เป็นต้น
           - กำหนดวิธีการประมวลผล (Process Specification) ต้องรู้ว่าจะให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลอย่างไรจึงจะได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
ตัวอย่าง ถ้าต้องการออกแบบโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์รับค่าข้อมูล 5 ค่า และแสดงค่าเฉลี่ยทางจอภาพ จะกำหนดและวิเคราะห์ปัญหาได้ดังนี้
          1. รับข้อมูลจากคีย์บอร์ด
              1.1 รับข้อมูลเฉพาะที่เป็นตัวเลขมาเก็บในตัวแปรจำนวน 5 ตัว
              1.2 ถ้าข้อมูลเท่ากับ 0 ให้รับค่าใหม่
          2. หาค่าเฉลี่ย
              2.1 รวมค่าทุกค่าที่รับมาเข้าด้วยกัน
              2.2 นำค่าผลรวมที่ได้หารด้วย 5
              2.3 นำค่าผลลัพธ์ไปเก็บในตัวแปร
          3. แสดงผลลัพธ์ทางจอภาพ
              3.1 แสดงคำว่าค่าเฉลี่ยเท่ากับ
              3.2 แสดงผลลัพธ์โดยมีทศนิยมสองตำแหน่ง
 
 
 

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความรู้เกี่ยวกับภาษา c

ประวัติภาษา C

     ภาษา C เป็นภาษาที่ถูกพัฒนาเพื่อใช้เขียนระบบปฏิบัติการ (Operating System) UNIX โดย Dennis  Ritchie จาก AT&T  Bell Laboratories ในปี พ.ศ.2515
     ภาษา C เป็นภาษาที่นิยมใช้ในการเขียนส่วนชุดคำสั่งระบบ (Systems  Software) เพราะสามารถใช้งานได้เหมือนภาษาระดับต่ำ เช่น เข้าถึงเลขที่อยู่ (address) ต่าง ๆ ได้ โดยที่ผู้เขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องรู้ส่วนอุปกรณ์ของเครื่อง (hardware)   

ภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบภาษา C

  •       Algol 60 (Algorithm Language) พัฒนาโดยกลุ่มคนจาก ACM และ GAMM ในปี พ.ศ.2503
  •      CPL (Combined Programming Language) พัฒนาที่มหาวิทยาลัย Cambridge และมหาวิทยาลัยลอนดอน ในปี พ.ศ.2506
  •      BCPL (Basic  Combined  Programming Language) พัฒนาโดย Martin Richards ในปี พ.ศ.2510
  •      B พัฒนาโดย Ken Thomson จาก Bell Laboratories ในปี พ.ศ.2513
  •      C พัฒนาโดย Dennis Ritchie จาก Bell Laboratories ในปี พ.ศ.2515

โปรแกรมภาษา C ประกอบด้วย

       ชุดคำสั่งแต่ละคำสั่งประกอบด้วย

องค์ประกอบของคำสั่ง

      คำสั่งอาจประกอบด้วย ชื่อตัวแปร และชื่อฟังก์ชัน (names)
  • ชื่อประกอบด้วย ตัวอักษร ตัวเลข และ _
  • ชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร และจะมีความยาวเท่าไรก็ได้
     ชื่อตัวแปรและฟังก์ชัน 
     ตัวอย่างชื่อที่ถูกต้อง i , f4,  total, user_id 
     ตัวอย่างชื่อที่ไม่ถูกต้อง %_of_change,  57,  31flavors 

ค่าคงที่ (constants) แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ค่าคงที่ชนิดตัวเลข และค่าคงที่ชนิดอักขระ

ค่าคงที่ชนิดตัวเลข 

     เลขจำนวนเต็ม (integer) ฐานต่าง ๆ ได้แก่
  • เลขฐานสิบ (decimal) เช่น 63,  999,  - 40,   - 2
  • เลขฐานแปด (octal) ขึ้นต้นด้วย 0 เช่น 077,   040
  • เลขฐานสิบหก (hexadecimal) ขึ้นต้นด้วย 0X เช่น 0X37,  0XFFFF,   0X9A37
    เลขทศนิยม (floating-point) ได้แก่
  • เลขทศนิยมธรรมดา เช่น 1.5,  .001,  -12.34
  • เลขทศนิยมแบบเลขชี้กำลัง เช่น 1E-5(1* 10-5 )  , 1.23E+2(1.23*102โดยใช้ E หรือ e แทนด้วยคูณสิบยกกำลัง  

ค่าคงที่ชนิดอักขระ     

   แบบอักขระ (character constant) เช่น 'a'  , 'A'
   แบบสายอักขระ (string  constant) เช่น "help"  ,  "happy  day"

ช่องว่าง (whitespace)  ในการเขียนโปรแกรมภาษา C จะเว้นช่องว่างระหว่างคำสั่งเท่าไรก็ได้  คำสั่งจะอยู่ส่วนไหนของบรรทัดก็ได้

หมายเหตุ (comment)

จะต้องเริ่มด้วย /*  จบหมายเหตุด้วย */
หมายเหตุไม่ได้เป็นส่วนของคำสั่ง แต่เป็นข้อความที่อาจเขียนเพื่ออธิบายโปรแกรม  อธิบายชื่อตัวแปรต่าง ๆ โดยจะใส่หมายเหตุไว้ที่ส่วนไหนของโปรแกรมก็ได้  อาจจะมีหรือไม่มีในโปรแกรมก็ได้ เพราะเป็นการอธิบายเพิ่มเติมเท่านั้น

ตัวดำเนินการ (Operator)  ได้แก่

ตัวดำเนินการการคำนวณ (arithmetic  operators)

 
ตัวดำเนินการ
ความหมาย
ลบชนิดเอกภาพ (unary  minus)
+
บวก
ลบ
*
คูณ
/
หาร
%
มอดูโล (modulo operator) หรือเศษเหลือ (remainder)

ตัวดำเนินการสัมพันธ์ (relational  operators)


ตัวดำเนินการ
ความหมาย
< 
น้อยกว่า
<=
น้อยกว่าหรือเท่ากับ
> 
มากกว่า
>=
มากกว่าหรือเท่ากับ
==
เท่ากับ
!=
ไม่เท่ากับ

ตัวดำเนินการตรรกะ (logical  operators)



ตัวดำเนินการ
ความหมาย
&&
และ (and)
||
หรือ (or)
!
ไม่ (not)

ตัวดำเนินการอื่น ๆ


ตัวดำเนินการ
ความหมาย
[]
ดรรชนีกำกับของตัวแปรแถวลำดับ (array subscript)
->
ตัวชี้ของตัวแปรโครงสร้าง (structure  pointer)
.
สมาชิกของตัวแปรโครงสร้าง (structure  member)
++
เพิ่มค่าอีกหนึ่ง (increment)
--
ลดค่าลงอีก (decrement)
(type)
เปลี่ยนชนิดของข้อมูล
*
ตัวดำเนินการโดยอ้อม (indirect)
&
เลขที่อยู่ (address)
sizeof
ขนาดของตัวถูกดำเนินการ
?:
นิพจน์มีเงื่อนไข (conditional  expression)
=
กำหนดค่า
,
จุลภาค



    


















วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ใบความรู้ที่ 1

เรื่องหลักการเขียนโปรแกรม

ประกอบการเรียนรู้วิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น(เพิ่มเติม)

ผลการเรียนรู้

     1. อธิบายหลักการเขียนโปรแกรมได้
     2. วิเคราะห์วิธีการเขียนโปรแกรมได้
 
หลักการเขียนโปรแกรม
     ในการแก้ปัญหาโดยอาศัยวิธีการเขียนโปรแกรม ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
     1. การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา
         รายละเอียดของปัญหาในเบื้องต้นอาจยังไม่ชัดเจน ในขั้นตอนนี้ ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องวิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนดรายละเอียดของปัญหาที่ชัดเจนซึ่งได้แก่ รายละเอียดของข้อมูลนำเข้า (input data) และรายละเอียดของข้อมูลส่งออก (output data) รายละเอียดของข้อมูลนำเข้า หมายถึง ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้แก้ปัญหา ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่กำหนดให้หรือข้อมูลที่รับเข้ามา สำหรับข้อมูลส่งออก หมายถึง ข้อมูลซึ่งเป็นผลที่ได้จากการแก้ปัญหา การกำหนดรายละเอียดข้อมูลนำเข้าและข้อมูลส่งออก สามารถทำได้โดยไม่ยุ่งยากจนเกินไป
    2. การออกแบบโปรแกรม
        ขั้นตอนการออกแบบโปรแกรมเป็นการออกแบบลำดับการทำงานหรือแก้ปัญหาซึ่งจะต้องสอดคล้องกับรายละเอียดของปัญหา โดยจะต้องคำนึงถึงการออกแบบโครงสร้างข้อมูลที่เหมาะสมที่จะใช้จัดเก็บข้อมูลเพื่อประมวลผลและการออกแบบขั้นตอนที่ใช้ประมวลผลข้อมูลในเบื้องต้นเราจะจัดเก็บข้อมูลที่ใช้สำหรับประมวลผลไว้ภายใต้ชื่อตัวแปรเช่นเดียวกับที่เราคุ้นเคยในการกำหนดตัวแปรสำหรับแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลที่กำหนดเป็นลำดับที่แน่นอนต่อเนื่องกันเพื่อใช้แก้ปัญหา เรียกว่า ขั้นตอนวิธี(algorithms) ขั้นตอนวิธีที่ดีจะต้องมีระบบระเบียบที่แน่นอนและชัดเจนในการแก้ปัญหา ขั้นตอนวิธีและโปรแกรมที่เราออกแบบจะอาศัยโครงสร้างควบคุมการทำงาน 3 อย่าง คือ
    •  โครงสร้างแบบตามลำดับ (sequential  structure) เป็นขั้นตอนการทำงานที่เป็นไปตามลำดับก่อนหลัง และแต่ละขั้นตอนจะถูกประมวลผลเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
    • โครงสร้างแบบมีทางเลือก (selection  structure) เป็นขั้นตอนการทำงานที่บางขั้นตอนจะได้รับหรือไม่ได้รับการประมวลผล ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบางประการ
    • โครงสร้างแบบทำซ้ำ (repetition  structure) เป็นขั้นตอนการทำงานที่บางขั้นตอนจะถูกประมวลผลซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบางประการ
    3. การเขียนโปรแกรม
        ในกรณีที่ได้วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดรายละเอียดของปัญหา ตลอดจนออกแบบโปรแกรมอย่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้วจะถึงขั้นตอนการเขียนโปรแกรม ในขั้นตอนนี้ก็สามารถทำให้สัมฤทธิ์ผลได้โดยง่าย ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม หมายถึง กระบวนการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อกำหนดโครงสร้างของข้อมูลและกำหนดขั้นตอนวิธีเพื่อใช้แก้ปัญหาตามที่ได้ออกแบบไว้ โดยอาศัยหลักเกณฑ์การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์แต่ละภาษา หลังจากที่ผู้พัฒนาเขียนโปรแกรมภาษเสร็จแล้วจะต้องมีการตรวจสอบโปรแกรมที่เขียนว่าคำสั่งถูกต้องตามไวยกรณ์หรือกฎเกณฑ์ของภาษานั้นหรือไม่และแปลภาษาโปรแกรมให้เป็นรหัสที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจ ซึ่งเราเรียกว่าการแปล (Compile) ซึ่งจะมีการสอบความถูกต้องของโปรแกรมตามกฎเกณฑ์การใช้ภาษาที่กำหนดขึ้นโดยตัวแปลภาษาหนึ่ง ๆ และแจ้งให้ผู้ใช้ทราบในกรณีที่ปรากฏข้อผิดพลาดขึ้น ข้อผิดพลาดที่ตรวจพบในขั้นตอนนี้เรียกว่า ข้อผิดพลาดทางไวยกรณ์ (Syntax Error) เมื่อผู้ใช้แก้ไขข้อผิดพลาดเรียบร้อยแล้ว จะต้องทำขั้นตอนการแปลใหม่อีกครั้งและทำเช่นนี้จนกว่าจะไม่พบข้อผิดพลาดทางไวยกรณ์ใดเลย จึงจะถือว่าโปรแกรมถูกต้อง และสามารถรันโปรแกรมเพื่อแก้โจทย์ปัญหาได้
    4. การตรวจสอบการทำงาน
        ข้อผิดพลาดจากการทำงานอาจเกิดขึ้นได้จากหลาย ๆ สาเหตุ เช่น ข้อผิดพลาดจากข้อมูลนำเข้า ข้อผิดพลาดจากโครงสร้างที่ใช้จัดเก็บข้อมูล ข้อผิดพลาดในขั้นตอนวิธีที่ใช้แก้ปัญหา เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผลโปรแกรมไม่ถูกต้อง การตรวจหาและแก้ไขข้อผิดพลาดจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งโดยในขั้นตอนนี้ผู้เขียนโปรแกรมจะตรวจสอบว่า ขั้นตอนวิธีและโปรแกรมที่เขียนขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียดของปัญหาหรือไม่ นอกจากนี้จะต้องตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีและโปรแกรมสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ โดยการประมวลผลโปรแกรมด้วยชุดข้อมูลทดสอบหลาย ๆ ชุด โดยคำนึงถึงทั้งชุดข้อมูลทดสอบที่ถูกต้อง และชุดข้อมูลทดสอบที่ไม่ถูกต้อง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าโปรแกรมสามารถรองรับข้อมูลเข้าได้ทุกกรณี โดยไม่ทำให้เกิดการหยุดชะงักระหว่างการประมวลผลโปรแกรม ในกรณีที่พบข้อผิดพลาด ผู้เขียนโปรแกรมจะดำเนินการแก้ไขทั้งในส่วนของโปรแกรมและส่วนของรหัสลำลองหรือผังงาน ตามแต่ที่ผู้เขียนโปรแกรมเลือกใช้สำหรับเขียนขั้นตอนวิธีในขั้นตอนของการออกแบบโปรแกรม
     5. การบำรุงรักษาโปรแกรม
         เมื่อมีการนำโปรแกรมไปใช้งานระยะหนึ่ง เป็นไปได้ที่ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการแก้ปัญหา เช่น ในตัวอย่างการคำนวณรายได้ของบริษัทเคเบิลทีวี อาจมีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณเคเบิลทีวีาำหรับบ้านพักอาศัย ซึ่งได้กำหนดเป็นค่าคงที่ในโปรแกรมหรือบริษัทมีนโยบายในการให้ส่วนลดกับสมาชิกเก่า หรือบริษัทเพิ่มแผนโฆษณาเชิญชวนให้ลูกค้าสมัครเป็นสมาชิก โดยมีเงื่อนไขพิเศษมากมาย เป็นเหตุให้ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องแก้ไขโปรแกรมให้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงไป การแก้ไขในลักษณะนี้เรียกว่า การบำรุงรักษาโปรแกรม
     6. การทำเอกสารประกอบโปรแกรม
         การทำเอกสารประกอบโปรแกรมเป็นงานที่สำคัญของการพัฒนาโปรแกรม เอกสารประกอบโปรแกรมช่วยให้ผู้ใช้โปรแกรมเข้าใจวัตถุประสงค์ข้อมูลที่จะต้องใช้กับโปรแกรม ตลอดจนผลลัพธ์ที่จะได้จากโปรแกรม การทำโปรแกรมทุกโปรแกรมจึงควรต้องทำเอกสารกำกับ โดยรวบรวมรายละเอียดตั้งแต่การพัฒนาโปรแกรมจนถึงการทดสอบโปรแกรมเพื่อใช้สำหรับการอ้างอิง เมื่อจะใช้งานโปรแกรมและเมื่อต้องการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรม
        เอกสารที่จัดทำขึ้นควรประกอบด้วย
        1. วัตถุประสงค์
        2. ประเภทและชนิดคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ใช้ในโปรแกรม
        3. วิธีการใช้โปรแกรม
        4. แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบโปรแกรม
        5. รายละเอียดโปรแกรม
        6. ข้อมูลตัวแทนที่ใช้ทดสอบ
        7. ผลลัพธ์ของการทดสอบ
        จะเห็นได้ว่าแม้ผู้เขียนโปรแกรมจะดำเนินการนับจากขั้นตอนการวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา การออกแบบโปรแกรม การเขียนโปรแกรม ตลอดจนการตรวจสอบการทำงานในเวลาเพียงน้อยนิด แต่ในขั้นตอนการบำรุงรักษาโปรแกรมจะมีช่วงเวลานานไปตลอดอายุการใช้งานของโปรแกรม ซึ่งนับเป็นสัดส่วนที่มากกว่า 4 ขั้นตอนแรกอย่างมาก
        กล่าวโดยสรุป ขั้นตอนวิธีการเขียนโปรแกรมจะประกอบด้วยการวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลนำเข้าและข้อมูลส่งออก  การออกแบบโปรแกรม เป็นการออกแบบลำดับการทำงานหรือแก้ปัญหา กำหนดขั้นตอนวิธีที่มีระบบระเบียบและชัดเจน โดยอาศัยโครงสร้างควบคุมทั้งโครงสร้างแบบลำดับ หรือ โครงสร้างแบบมีทางเลือก หรือ โครงสร้างแบบทำซ้ำ  การเขียนโปรแกรม กระบวนการที่ใช้ภาาาคอมพิวเตอร์ กำหนดโครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธีเพื่อแก้ปัญหาตามที่ออกแบบ ตั้งใช้หลักเกณฑ์ของภาษานั้น ๆ โดยไม่พบข้อผิดพลาด โปรแกรมจึงถูกต้อง และแก้โจทย์ปัญหาได้ การตรวจสอบการทำงาน คำนึงถึงชุดข้อมูลทดสอบที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง เพื่อความมั่นใจของโปรแกรมสามารถรองรับข้อมูลเข้าได้ทุกกรณี โดยไม่เกิดการหยุดชะงักการประมวลผลโปรแกรม  การบำรุงรักษาโปรแกรม  การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการแก้ปัญหาต้องแก้ไขโปรแกรมให้สอดคล้องกับเงื่อนไข  การทำเอกสารประกอบโปรแกรม งานสำคัญของการพัฒนาโปรแกรม เมื่อต้องการแก้ไขปรับปรุง
******************
หนังสืออ้างอิง

อนงค์นาฎ  ศรีวิหค.การโปรแกรมเบื้องต้นด้วยภาษาปาสคาล. สาขาคอมพิวเตอร์ สถาบันส่งเสริม
        การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.